ในยุคปัจจุบันที่โลกแคบลง องค์กรทั้งหลายต่างสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทันสมัยใกล้เคียงกัน องค์ความรู้คล้ายกัน มีเครือข่ายสายสัมพันธ์ที่ไม่ด้อยไปกว่ากัน สิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับองค์กรในโลกธุรกิจได้อย่างแท้จริง ก็คือ “ความสามารถของคน” ในองค์กร เรา Insight Assessment Center (IAC) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถบุคลากร จึงได้สรรค์สร้างเครื่องมือประเมินเพื่อใช้ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร บริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร ให้คำปรึกษาบุคคล และสรรหาคัดเลือกบุคลากร โดยใช้หลักการของเครื่องมือด้านจิตวิทยาที่หลากหลาย ครอบคลุมและน่าเชื่อถือ มาพัฒนาเครื่องมือประเมินเหล่านี้ ซึ่งผลการประเมินสามารถสะท้อนคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล สไตล์การสื่อสารในสังคม บทบาทที่ถนัดในการแสดงออกและตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ความถนัด ไหวพริบในความสามารถด้านต่างๆ ความชอบ ความไม่ชอบ และแรงจูงใจ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ข้อมูลจำเพาะเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการบริหารจัดการบุคลากรและทีมงานในองค์กร เพิ่มขีดความสามารถ เกิดประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มในเนื้องาน สร้างความโดดเด่นให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
เครื่องมือประเมิน ที่ทาง IAC ออกแบบ แบ่งออกเป็น 2 ด้านหลักๆ ได้แก่
Development พัฒนา
องค์กรที่มุ่งมั่นความก้าวหน้าและความสำเร็จ ย่อมต้องอาศัยทีมงานที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อองค์กรนั้นให้ความสำคัญกับบุคลากรและมีกระบวนการพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่อง เพื่ออนาคตขององค์กรและตัวบุคลากรเอง
IAC ได้นำ iDISC plus model มาใช้ในการออกแบบเครื่องมือประเมินสำหรับการพัฒนาตนเอง บุคลากรในทีม ทักษะ และความสามารถด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาความมั่นใจให้บุคลากรหรือพนักงานในการตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากลักษณะงาน ความแตกต่างของบุคคลในทีม และสังคมที่แวดล้อม เตรียมความพร้อมของบุคลากรในการรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้น หรือในตำแหน่งที่สูงขึ้นเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ทั้งนี้ยังสามารถนำเครื่องมือประเมินเหล่านี้ไปใช้ขยายผลและต่อยอดในการทำ Talent Management Program, Individual Development Program (IDP), Succession Planning Program และ จัด Career Path สำหรับอนาคตได้อย่างลงตัว
เครื่องมือประเมินในหมวด Development ได้แก่
Personality Insights-Classic
เป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาตัวตนเชิงพฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน ข้อได้เปรียบและข้อควรปรับของบุคคล ในแง่มุมเชิงจิตวิทยาประยุกต์ เพื่อนำไปขยายผลต่อในการพัฒนาตัวเอง การรู้จักตัวตนทั้งในแง่บวกและลบยังช่วยเปิดโลกทัศน์การรับรู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล นำไปสู่การปรับตัวในการสื่อสารระหว่างบุคคล การเข้าสังคม และการทำงานร่วมกันกับผู้คนในทีมที่มีความคิดเห็นและการแสดงออกที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและด้วยความเข้าใจกันมากขึ้น
Development Insights
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาตนเองได้ตรงตามคุณลักษณะหรือตัวตนของตัวเอง เสริมความมั่นใจในจุดแข็งและกระตุ้นเตือนให้ปรับปรุงจุดอ่อน สร้างการรับรู้ในสิ่งที่ตนขาดหรือบกพร่องในการทำงานตำแหน่งงานนั้นๆ สามารถมองเห็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพ และลดทอนข้อจำกัดของตัวเอง องค์กรหรือหัวหน้าสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการยกระดับบุคลากรให้เป็น Potentials Employee อีกทั้งยังเป็นการให้ความช่วยเหลือพัฒนาการของพนักงานรายบุคคลได้อย่างตรงจุดอีกด้วย
Role/Behavior Analysis
เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ความสอดคล้องหรือประเมินช่องว่าง (gap) ระหว่างลักษณะที่คาดหวังในบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งงานนั้นๆ กับคุณลักษณะเฉพาะของบุคลากรหรือพนักงานรายบุคคล การเห็นความสอดคล้องหรือเห็นช่องว่าง (gap) ที่ชัดเจนขึ้น ช่วยในการค้นหาขีดความสามารถของพนักงานและความเป็นไปได้ในการสร้างพัฒนาการ ช่วยองค์กรจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ ออกแบบแผนฝึกอบรมและดึงศักยภาพของบุคลากรได้เหมาะกับความถนัดและคุณลักษณะตัวตนของพนักงาน อีกทั้งตัวพนักงานก็ได้รับรู้ถึงสิ่งที่ถูกคาดหวังและสิ่งที่ตนพร่องไป เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานและองค์กรในการสร้างพัฒนาการบุคคลและเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้น หรือในตำแหน่งที่สูงขึ้น
Sales Insights
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักขายหรือผู้ให้บริการต่อลูกค้า ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารประสานงานกับผู้ร่วมงานในองค์กร ได้รู้จักเข้าใจถึงจุดแข็งและจุดที่ต้องระมัดระวังของตนเอง เพื่อประโยชน์ในการทำงานประสานงานกับผู้ร่วมงาน นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นถึงรูปแบบการขายหรือการให้บริการต่อลูกค้า รวมไปถึงข้อแนะนำในการปรับวิธีการสื่อสารหรือการแสดงออกเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขายหรือการให้บริการต่อลูกค้าที่ต้องดูแลรับผิดชอบ
Team Insights
เป็นเครื่องมือที่ให้ข้อมูลทั้งรายบุคคลและภาพรวมของทีม ช่วยให้ทราบถึงคุณลักษณะ จุดแข็งจุดอ่อนและรูปแบบการบริหารคนและงานเป็นรายบุคคล รวมไปถึงรูปแบบโดยรวมของทีม แสดงให้เห็นแผนภาพการกระจายของสมาชิกทีม มีการอธิบายถึงลักษณะต่างๆ ข้อดีและประเด็นที่ต้องระมัดระวังในแต่ละรูปแบบ แนะนำวิธีการสังเกตลักษณะของสมาชิกในทีมและการทำงานร่วมกันกับผู้ที่มีความแตกต่าง
360 Degree Feedback
เป็นเครื่องมือการประเมินข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา โดยผู้ประเมินที่หลากหลาย ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ผู้บังคับบัญชาเหนือถัดขึ้นไป เพื่อนร่วมงานภายในหน่วยงาน เพื่อนร่วมงานภายนอกหน่วยงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา ลูกค้าภายใน ลูกค้าภายนอก และประเมินตนเอง การประเมินลักษณะนี้จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ข้อมูลของตนเองที่มาจากรอบทิศทาง เป็นข้อมูลที่มากพอที่จะทำให้พนักงานรับรู้ว่าพฤติกรรมอะไรที่เป็นจุดแข็งและพฤติกรรมเรื่องใดที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องการการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น และข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายจะทำให้ผู้รับข้อมูลป้อนกลับเกิดความเชื่อถือและยอมรับผลการประเมิน ซึ่งสามารถนำไปสู่การออกแบบแผนการฝึกอบรมและพัฒนาความสามารถของพนักงานรายบุคคลต่อไป โดยมีอยู่ 2 รูปแบบให้เลือกใช้ตามความต้องการขององค์กร
- Personality 360 Degree จะเป็นแบบประเมินที่นอกจากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ จุดแข็ง/จุดอ่อน และรูปแบบการทำงานส่วนบุคคลแล้ว ยังสรุปรวมข้อมูลป้อนกลับจากรอบด้านที่อยู่ในบริบทของ 12 คุณสมบัติหลัก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นผู้นำ
- Competency 360 Degree จะเป็นแบบประเมินที่นอกจากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ จุดแข็ง/จุดอ่อน และรูปแบบการทำงานส่วนบุคคลแล้ว ยังสรุปรวมข้อมูลป้อนกลับจากรอบด้านที่อยู่ในบริบทของ 12 Competency หลัก ซึ่งถูกคาดหวังจากองค์กร
Selection สรรหา
การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรจัดเป็นภารกิจสำคัญของทุกองค์กร มีความสำคัญต่อความก้าวหน้าและอนาคตขององค์กร เป้าหมายของการสรรหาคัดเลือกบุคลากร คือการให้ได้มาซึ่งบุคคลที่มีคุณภาพ มีคุณลักษณะตรงตามที่องค์กรและตำแหน่งงานนั้นๆ ต้องการ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกจึงต้องจัดทำอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่เหมาะสม
IAC ได้นำ iDISC plus model มาใช้ในการออกแบบเครื่องมือประเมินสำหรับช่วยในการคัดเลือก สรรหาบุคลากร ที่เหมาะสมกับหน่วยงานและองค์กร ทั้งยังช่วยตอบโจทย์เรื่องความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กรหรือหน่วยงานกับคุณลักษณะบุคคลที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่บุคคลดังกล่าวจะทำงานกับองค์กร มีพัฒนาการและสร้างความก้าวหน้าในองค์กรในระยะยาว
เครื่องมือประเมินในหมวด Selection ได้แก่
Selection Insights
เครื่องมือประเมินสำหรับช่วยในการคัดเลือก สรรหาบุคลากรที่เหมาะสมกับหน่วยงานและองค์กร นอกเหนือจากการทดสอบความรู้ ทฤษฎี ทักษะเฉพาะทาง ผลการประเมินด้วยเครื่องมือ Selection Insights นี้สามารถช่วยคัดกรองบุคคลที่มีคุณลักษณะที่ต้องการ (Potential Candidate) ออกจากกลุ่มผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยออกแบบแนวทางคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ให้เหมาะสมกับคุณลักษณะบุคคลของผู้สมัคร เพื่อให้ได้ข้อบ่งชี้เกี่ยวกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และมุมมองต่อสังคมแวดล้อมของผู้สมัครที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในขณะที่ทำการสัมภาษณ์
Personality Match
เครื่องมือช่วยวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณลักษณะของบุคคลที่ต้องการในตำแหน่งงาน กับคุณลักษณะบุคคลของผู้สมัครงาน โดยรายงานผลเชิงวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างคุณลักษณะคาดหวังจากองค์กรและคุณลักษณะของผู้สมัคร เช่น ในการมีปฏิสัมพันธ์ของบุคคล การสื่อสาร ประสานงาน รูปแบบที่ถนัดในการตัดสินใจ พฤติกรรมถนัดในการตอบสนองต่อสังคมแวดล้อม เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินใจในการคัดเลือก
Aptitude Test
เครื่องมือวัดความถนัด ไหวพริบ ในความสามารถด้านต่างๆ เช่น ทักษะทางตัวเลข มิติสัมพันธ์ การสังเกตพิจารณา และการมองเห็นความสอดคล้องจากเหตุและผล เป็นต้น ซึ่งเป็นภาพสะท้อนจากการสั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะที่ผ่านมา ระดับความสามารถในการประมวลผลของระบบความคิดในแต่ละด้านความรู้ และทักษะในการใช้ตรรกะมองปัญหาและหาทางแก้ไข ซึ่งเป็นอีกคุณสมบัติบุคคลที่มีความสำคัญต่อคุณภาพบุคลากรและเพิ่มโอกาสความสำเร็จขององค์กร
Report Sample