iDSC Plus

iDISC plus    http://www.planwithyouth.org/wp-content/uploads/2012/11/adobe-pdf-logo.png  Validation Report

พฤติกรรมบุคคลและบุคลิกภาพ

นับเป็นเวลากว่าสองพันปี ที่คนยุคโบราณได้เห็นและเฝ้าสังเกตความแตกต่างของนิสัยมนุษย์ ไปจนถึงมีความพยายามจะสร้างเครื่องมือหรือหาวิธีการทำนายนิสัย ยุคกรีกโบราณ ในช่วงเวลา 400 ปีก่อนคริสตกาล ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ให้ความสนใจศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมมนุษย์ โดยได้แบ่งอุปนิสัยมนุษย์เป็น 4 รูปแบบตามลักษณะอารมณ์พื้นฐาน คือ Sanguine (ร่าเริง มั่นใจ), Choleric (ใจร้อน หงุดหงิดง่าย), Melancholic (ครุ่นคิด กังวล) และ Phlegmatic (ผ่อนคลาย เนือยเฉื่อย) ซึ่งแนวคิดนี้นักวิทยาศาสตร์และนักจิตศาสตร์ยุคต่อมาได้นำมาศึกษาพัฒนาต่อ อย่างไรก็ตาม การศึกษาศาสตร์ด้านจิตและพฤติกรรมในช่วงแรกๆ มุ่งเน้นไปที่ความผิดปกติของจิตและการรักษา ต่อมาในปี ค.ศ. 1920 Dr. William Moulton Marston เป็นผู้ริเริ่มมุ่งเน้นศึกษาความรู้ด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์ของผู้คน “ปกติ” และในปี ค.ศ. 1928 เขาได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องนี้ในหนังสือชื่อ Emotions of Normal People

 

ในการแสดงพฤติกรรมของคนในขณะหนึ่งๆ แท้จริงแล้วคือการ “เปิด” สิ่งที่สมองบันทึกหรือถูกป้อนข้อมูลไว้มาตั้งแต่อดีต ทั้งในรูปของภาพ เหตุการณ์และความรู้สึก ที่กำเนิดของพฤติกรรมจึงเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำ พฤติกรรมมีทั้งส่วนที่ไม่รู้ตัวกับส่วนที่รู้ตัว ส่วนที่ไม่รู้ตัวเกิดพฤติกรรมจากการสั่งสมข้อมูลมาจากอดีต จนเกิดเป็นความคุ้นชิน สัญชาตญาณ ซึ่งสามารถมีอิทธิพลเหนือจิตใจในขณะปัจจุบัน พฤติกรรมส่วนที่รู้ตัว มักผ่านการคิดวิเคราะห์ กลั่นกรอง ฝึกฝน ได้รับการปรุงแต่ง ปรับให้เข้ากับสถานการณ์หรือสภาพสังคมที่กำลังเผชิญอยู่ พฤติกรรมที่แสดงออกบ่อยๆ ซ้ำๆ หรืออย่างโดดเด่น ก็จะกลายเป็นคุณลักษณะบุคลิกภาพเฉพาะบุคคล อาจเรียกได้ว่าเป็นบุคลิกประจำตัว (Preference character) หรือ พฤติกรรมธรรมชาติ (Internal Profile) ซึ่งแต่ละบุคคลมีคุณลักษณะบุคลิกภาพแบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะที่บุคคลนั้นพัฒนาขึ้น แต่ก็มิได้หมายความว่า บุคคลจะไม่แสดงบุคลิกลักษณะที่ไม่ค่อยได้พัฒนาออกมา เพียงแต่มักแสดงพฤติกรรมถนัดเป็นประจำ ทั้งที่แบบไม่รู้ตัวและรู้ตัว ซึ่งลักษณะการแสดงออกเหล่านี้มาจากโลกทัศน์หรือมุมมองของบุคคลที่มีต่อตนเองและสังคมแวดล้อมที่แตกต่างกัน

 

ต้นกำเนิด DISC และพัฒนาการ

Dr. William Moulton Marston สนใจศึกษาเรื่องความแตกต่างทางพฤติกรรมของมนุษย์และการตอบสนองพฤติกรรมของแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยใช้หลัก “การรับรู้” (Perception) ของมนุษย์ที่มีต่อตนเอง (self) และต่อสิ่งแวดล้อม (environment) เป็นแนวทางอธิบายพฤติกรรมการตอบสนองของบุคคล

 

มิติการรับรู้ 2 แกนนี้ มีนัยต่อพฤติกรรมการแสดงออก รูปแบบความรู้สึกนึกคิด ลักษณะการตอบสนองสิ่งแวดล้อมและผู้อื่น ที่สั่งสมมาจากประสบการณ์ การเรียนรู้ การถูกป้อนข้อมูลตั้งแต่วัยเด็ก

 

  More powerful แกนตั้ง : เป็นการรับรู้เชิงเปรียบเทียบพลังของตนเองที่มี มากกว่าหรือน้อยกว่า ต่อสภาพแวดล้อมภายนอก บอกถึงระดับพลังงานในตัว ระดับความมั่นใจในการเปิดเผยตัวตน แสดงความคิดเห็น ระดับความกล้าเผชิญ เช่น ด้านพลังสูง มักกล้าใช้พลังความสามารถ โน้มน้าว ควบคุม บังคับ กล้าแตกต่าง จนถึงท้าทายการเปลี่ยนแปลง ประเมินความสามารถตนเองสูง ส่วนอีกด้านตรงข้าม ที่ประสบการณ์สั่งสมทำให้บุคคลกริ่งเกรงสิ่งที่แวดล้อม จึงมักคอยตั้งรับ เก็บตัว เก็บอาการ เช่น ชอบอยู่ในกลุ่ม ทำตามกติกากลุ่มหรือพวกพ้อง คล้อยตามเสียงส่วนใหญ่ อึดอัดใจกับการเปลี่ยนแปลงฉับพลัน ประเมินความสามารถตนเองต่ำ เป็นต้น  
Less powerful
Unfavorable Favorable 
แกนนอน : เป็นการรับรู้ความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมและ ผู้คน บอกถึงระดับความไว้วางใจ เชื่อใจ มุมมองต่อโลก การตั้งข้อสังเกต สงสัย เช่น ด้านพึงพอใจ จะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนอย่างเป็นมิตร ไว้ใจและเชื่อใจได้ง่ายกว่า มองโลกในแง่ดี ไม่ค่อยระแวงสงสัย ส่วนอีกด้านตรงข้าม จะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่น อย่างระแวดระวัง ตั้งคำถาม สงสัย เพิ่มความรอบคอบและวางแผนรัดกุม

 

จากการรับรู้ใน 2 แกนนี้ สามารถจำแนกคุณลักษณะพฤติกรรมมนุษย์นี้ออกเป็น 4 หมวดคุณลักษณะ คือ Dominance, Inducement (ต่อมาเปลี่ยนเป็น Influence) , Submission (ต่อมาเปลี่ยนเป็น Steadiness) และ Compliance (ต่อมาเปลี่ยนเป็น Conscientious)  เป็นที่มาของ "DISC" ซึ่งมาจากอักษรย่อของ 4 คุณลักษณะนี้

       

        Dominance     ; ใช้แรงขับ ความพยายามเพื่อเข้าควบคุม เข้าพิชิต มุ่งผลลัพธ์และรักษาอำนาจ

        Influence        ; ใช้แรงขับ ความพยายามเพื่อสร้างอิทธิพลในหมู่คน โดยการโน้มน้าว ชักจูง มุ่ง แสดงออก และการได้รับความสนใจ

        Steadiness      ; ใช้แรงขับ ความพยายามเพื่อสร้างความมั่นคง สม่ำเสมอ  มุ่งเน้นสายสัมพันธ์ โดยเข้าให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ

        Conscientious ; ใช้แรงขับ ความพยายามเพื่อความถูกต้อง แน่นอน ปลอดภัย มุ่งสาระ  กระบวนการ อย่างมีตรรกะและขั้นตอน

 

     ทั้งนี้ ในบุคคลหนึ่ง จะมีทั้ง 4 คุณลักษณะเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยที่จะมีเพียง 1 หรือ 2 คุณลักษณะเท่านั้น ที่ปรากฏเด่นชัด

 

ในขั้นถัดมา DISC Model ของ Dr. William Moulton Marston ได้ถูกนำมาพัฒนาต่อ เป็นแบบประเมิน แบบทดสอบ ในปี ค.ศ. 1948 โดยผู้ริเริ่มคือ Walter V. Clarke นักจิตวิทยาอุตสาหการ ซึ่งเป็นแบบประเมินที่ใช้คัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน จากนั้นก็ได้มีการประยุกต์ใช้ DISC Model ในหลากหลายสาขาอาชีพและหลายวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์บุคคล และได้พัฒนาให้ออกผลประเมินเป็น profile หรือ กราฟรูปแบบต่างๆ เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

 

แบบประเมิน iDISC plus และการแปลผล

DISC จัดเป็น “ภาษาสากล” (Universal language) ที่ฉายให้เห็นแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรม (behavioral tendencies) ในสถานการณ์หนึ่งๆ ที่สะท้อนคุณลักษณะบุคลิกภาพทั้งแง่บวกและลบของแต่ละบุคคล และวิธีที่แต่ละบุคคลสื่อสารแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นการสื่อโดยภาษาท่าทาง ลักษณะคำพูดหรือน้ำเสียง เช่น คนเด็ดเดี่ยว (Dominance) มักแสดงออกด้วยสีหน้าท่าทางขึงขัง คนเจ้าระเบียบ (Conscientious) มักออกอาการจู้จี้จุกจิก ช่างสังเกตและตั้งคำถาม เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมและวิธีการแสดงออกเหล่านี้ส่งผลต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

 

DISC มีการแบ่งคุณลักษณะบุคคลเป็นหมวดหมู่ ช่วยให้ความสลับซับซ้อนของคุณลักษณะบุคลิกภาพเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันได้มีการนำเอาหลักการนี้มาพัฒนาเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณลักษณะและรูปแบบพฤติกรรมตนเอง (Behavioral Profile Assessment) มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และในหลายสาขาอาชีพ

 

ทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาและผู้บริหารระดับสูงในองค์กรได้ร่วมกันพัฒนา iDISC plus Assessment โดยใช้พื้นฐานจากหลักทฤษฎี DISC Model ของ Dr. William Moulton Marston ด้วยเหตุผลหลักคือความมีตรรกะและการวิจัยที่เป็นระบบ ที่มีความน่าเชื่อถือในหลักอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ โดยได้นำเอาสิ่งแวดล้อมมาเป็นปัจจัยร่วม รวมไปถึงการเชื่อมโยงพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละคุณลักษณะในแต่ละสถานการณ์ และเป็นการอธิบายความเชื่อมโยงที่สามารถเข้าใจได้ง่าย คุณลักษณะพฤติกรรมทั้ง 4 ลักษณะ สะท้อนบุคลิกบุคคลดังนี้

 

Dominance ตรงไปตรงมา มั่นใจ เด็ดขาด แน่วแน่ กล้าเผชิญหน้า ตัดสินใจเร็ว ทำงานเร็ว คล่องแคล่ว เน้นผลลัพธ์ ชอบความท้าทาย ผจญภัย แข่งขัน ต้องการอำนาจ ชอบจัดการกับปัญหา มองภาพใหญ่

 

Influence ช่างพูด ช่างเจรจา เปิดเผย ชอบสังสรรค์ เข้าสังคมพบปะผู้คน กระตือรือร้น สนุกสนานกับกลุ่มคน อารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี เป็นมิตร ปรารถนาที่จะช่วยผู้อื่นอย่างมีส่วนร่วม โน้มน้าวจูงใจเก่ง

 

Steadiness ใจเย็น อดทน เป็นผู้ฟังที่ดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สุภาพ อ่อนน้อม ทำงานตามแบบแผน ให้ความร่วมมือกับกลุ่ม ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความมั่นคง สม่ำเสมอ ประณีต รอบคอบ ค่อยเป็นค่อยไป เรื่อยๆ สบายๆ

 

Conscientious เจ้าระเบียบ พิธีรีตอง อิงกฎและมาตรฐาน มีวินัย ให้ความสำคัญกับรายละเอียดและข้อเท็จจริง ต้องการความถูกต้องและแม่นยำ ชอบการคิดวิเคราะห์ เน้นเหตุและผล สุขุม รอบคอบ ครุ่นคิด เก็บความรู้สึก

 

iDISC plus เป็นแบบประเมินระบบ online ซึ่งมีการทำแบบประเมินที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นแบบประเมินตน ด้านการปรับตัว อารมณ์แสดงออก แรงจูงใจ ความปรารถนา การมองโลก การตอบสนองสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทัศนะและความรู้สึกของผู้ทำแบบประเมินในเวลาขณะนั้นๆ การทำแบบประเมินเป็นการสะท้อนความเห็นที่มีต่อตนเอง ระดับการตระหนักรับรู้ตนเองที่เป็นปัจจุบัน ไม่ใช่ “สิ่งที่เราควรจะเป็น หรืออยากจะเป็น” การที่แบบประเมินสามารถสะท้อนตัวตนแท้จริงได้ใกล้ที่สุด มีความสัมพันธ์กับการให้คำตอบที่เป็นจริงหรือใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

 

จากคุณลักษณะพฤติกรรมหลักทั้ง 4 ลักษณะ iDISC plus ได้มีการวิเคราะห์แยกย่อยคุณลักษณะบุคคลโดยใช้แก่นพฤติกรรมหลัก พฤติกรรมรอง และพฤติกรรมถัดลงไป ให้เห็นความแตกต่างของคุณลักษณะบุคคลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการรายงานผลแนวโน้มจุดแข็ง จุดอ่อน แนวทางกระตุ้นจูงใจ แนวโน้มพฤติกรรมในภาวะกดดัน รูปแบบการสื่อสาร การจัดการ ตัดสินใจ ยังเสริมการวิเคราะห์การปรับตัว แนวโน้มความตึงเครียดซ่อนเร้น และข้อแนะนำการปรับปรุง พัฒนาตน การปรับปฏิสัมพันธ์ ซึ่งออกแบบรายงานผลที่เป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบบรรยายประกอบรูปกราฟ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย

 

อย่างไรก็ตาม รายงานผลจากแบบประเมินไม่สามารถใช้ตัดสินความประพฤติ-พฤติกรรม บ่งชี้ถูกผิดหรือชี้ชัดอนาคตอีกทั้งไม่สะท้อนระดับการศึกษา ความฉลาดเฉลียว แต่การประเมินจะให้ข้อมูลเชิงสัมพันธ์กับความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น เป็นเครื่องมือในการช่วยสังเกตและวิเคราะห์ฐานความคิด (ซึ่งส่งผลถึงพฤติกรรมของบุคคล) เพื่อใช้ประกอบพิจารณาตีความ คุณลักษณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม มีทั้งข้อดีและข้อด้อยของตัวเอง ไม่ควรนำมาวัดผลว่าแบบไหนที่ดีหรือด้อยกว่าอีกแบบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการรู้จักเข้าใจตน

โดยทั่วไป บุคคลมักจะให้ความสนใจในการทำความรู้จักเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมภายนอกก่อน เช่น เทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ การเงิน รวมถึงบุคคลอื่น มากกว่าทำความรู้จักเข้าใจกับตัวตนของตัวเอง  คนจำนวนมากจึงมักจะ รู้สึกสับสนในความเป็นตัวตนของเรา จากที่บุคคลภายนอกข้างเคียงให้ข้อมูลป้อนกลับเข้ามาไม่ว่าจะในรูปของคำพูด คำวิพากษ์ ความเห็น ความรู้สึกสะท้อน ซึ่งเกิดขึ้นจากโลกทัศน์ของคนเหล่านั้น โดยที่อาจไม่เป็นไปตามที่ตัวเราเป็น การได้ทำความเข้าใจตัวเองทั้งในแง่บวกและลบ ผ่านเครื่องมือ iDISC plus เสมือนการได้ข้อมูลป้อนกลับที่ผ่านทัศนะของตัวเราเอง สะท้อนแนวโน้มพฤติกรรมความถนัดในการแสดงออก ความชอบ ความไม่ชอบ ความปรารถนา สิ่งแวดล้อมที่พึงใจ แรงกระตุ้นจูงใจ สิ่งเร้าความตึงเครียด เป็นต้น ทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้ถึงผลกระทบที่อาจตามมาจากการแสดงพฤติกรรม ในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อีกทั้งบุคคลที่เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จะสามารถยอมรับและปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นและสถานการณ์ได้ดีขึ้น สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลที่แวดล้อม จึงกล่าวได้ว่า การตระหนักรับรู้ตัวตนเป็นรากฐานสำคัญต่อความก้าวหน้า ความสำเร็จทั้งชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน

 

การรู้จักตัวตนของตัวเอง เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้บุคคลเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง รู้ทิศทางที่ชัดเจน

ð    ประเมินตนเองได้อย่างชัดเจน ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน

ð    สร้างสมดุลด้านบวก ด้านลบ ของคุณลักษณะตัวเองได้ดีขึ้น

ð    แสดงตนได้อย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพ ทั้งทางด้านการแสดงความคิดเห็น การร่วมกิจกรรมต่างๆ

ð    พัฒนาตัวเอง เสริมจุดแข็ง ปรับจุดอ่อน อย่างมีทิศทาง 

ð    สื่อสาร สร้างสัมพันธภาพด้วยความเข้าใจกันจากการที่ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล

ð    ปรับตัว ยืดหยุ่นไปกับแต่ละสถานการณ์ได้อย่างผ่อนคลายมากขึ้น

 

การประยุกต์ใช้ iDISC plus

iDISC plus สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายในทุกกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลในเชิงธุรกิจ เพื่อใช้ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร บริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร และสรรหา อาชีพ ผลการประเมินสามารถสะท้อนคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล สไตล์การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ในสังคม สไตล์การตัดสินใจและเผชิญปัญหา บทบาทที่ถนัดในการแสดงออกและตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม ความถนัด และแรงกระตุ้นจูงใจ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ข้อมูลจำเพาะเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่สำคัญในการบริหารจัดการบุคลากรและทีมงานในองค์กร เพิ่มขีดความสามารถ เกิดประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มในเนื้องาน สร้างความโดดเด่นให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

 

ตัวอย่างเรื่องที่ iDISC plus สามารถนำประยุกต์ใช้ได้ เช่น

ð    การพัฒนาตนเอง (Individual Development Program)

ð    การสื่อสาร บริหารความสัมพันธ์ (Communication and Relation Management)

ð    การพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership Program)

ð    การพัฒนาทีม สร้างทีม (Team Building)

ð    การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

ð    การจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Conflict Management)

ð    การปรับตัวและรับมือภายใต้แรงกดดัน (Adaptability and Stress Handling)

ð    การ Coach บุคลากร ; สร้างแรงจูงใจและยกระดับขีดความสามารถ (Coach and Motivation Program)

ð    การขาย การเจรจาต่อรอง (Sales and Negotiation)

ð    การสื่อสารและบริการลูกค้า (Communication and Customer Service)

ð    การบริหารคนเก่งและวางแผนความก้าวหน้า (Talent Management and Succession Planning)

ð    การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน (Recruitment and Selection)

ð    การเลือกอาชีพลักษณะงานที่เหมาะสม (Job Matching)

ð    การพัฒนาสายอาชีพ (Career Path Development)

 

© 2008 Insight Assessment Center. All Rights Reserved